บทความ

เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์

เหล็กดำคืออะไร?

เหล็กดำ คือเหล็กที่มีผิวสีดำ หรือที่เราเรียกกันว่า เหล็กรูปพรรณ หรือ เหล็กรูปพรรณดำ บ้างก็เรียกว่าเหล็กกล่อง  ผลิตจากการหล่อหรือนำเหล็กมารีดขึ้นรูป ส่วนในเรื่องของราคา เหล็กดำ จะมีราคาถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ เนื่องจากเหล็กดำไม่ต้องมีขั้นตอนของการจุ่มร้อนและเคลือบสารกันสนิม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ มีค่าใช้จ่ายสูงแถมยังหาซื้อง่าย ทำให้เหล็กดำกลายเป็นวัสดุโครงสร้างที่สำคัญ ดังนั้น จึงมี มอก. ออกมารองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมากมาย 

คุณสมบัติของเหล็กดำคือ ความทนทาน สามารถรับแรงดันจากลม และแรงเสียดทานได้เป็นอย่างดี

ข้อดีและข้อจำกัด 

การเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กดำ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจที่จะเลือกใช้ หรือไม่ใช้เหล็กดำในงานต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามาลงรายละเอียดถึงข้อดีและข้อเสียของเหล็กชนิดนี้กัน

ข้อดี : น้ำหนักเบา ตะเข็บเรียบ มีความทนทาน คงทน รับแรงดันสูงได้ดี รับน้ำหนักได้มาก ราคาถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ หาซื้อง่าย นิยมใช้ในการก่อสร้าง

ข้อเสีย : เกิดสนิมง่าย  หากไม่ได้ทาสีรองพื้นกันสนิม

 

 

เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร?

เหล็กกัลวาไนซ์คือ คือเหล็กที่ผ่านกระบวนการเคลือบหรือชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการเกิดสนิม การเพิ่มบริมาณและขั้นตอนการผลิตนี้ ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์มักจะมีราคาที่สูงกว่าเหล็กดำ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติ รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กกัลวาไนซ์ก็จะแตกต่างไปจากเหล็กดำด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติ

สังเกตได้ว่ากระบวนการผลิตของเหล็กกัลวาไนซ์แตกต่างออกไปจากขั้นตอนการผลิตของเหล็กดำ ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่น่าสนใจ เช่น น้ำหนักที่เบา สามารถกันสนิมได้ และนิยมใช้ในการก่อสร้างภายนอกอย่างโครงสร้างหลังคา และโครงสร้างขนาดเล็ก

ข้อดีและข้อจำกัด

เช่นเดียวกับเหล็กดำ การเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กกัลวาไนซ์  จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้นว่า จะเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ในงานแบบไหน

ข้อดี : ประหยัดเวลา พร้อมใช้งานได้ทันที เพราะลดขั้นตอนของการทาสีกันสนิม

ไม่จำเป็นต้องทาสีรองพื้น

ข้อเสีย : รับน้ำหนักได้น้อย ทำให้เหมาะกับการใช้ทำโครงสร้างรอง ราคาแพง

เพื่อยืดอายุการใช้งานตู้สำนักงาน ทางเราจึงเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ในส่วนประกอบหลักๆ  และ งานคานตู้ทางเรา เหล็กดำไปส่งชุปกัลวาไนซ์เพื่อป้องกันการเกิดสนิมที่เราใช้เหล็กดำเพราะต้องการการรับน้ำหนักที่มาก

 

บทความล่าสุด